Linux



ประวัติของ Linux

     ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) 
นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ
    ลีนุส เห็นว่าระบบมินิกซ์ (Minix) ที่เป็นระบบยูนิกซ์บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งทำการพัฒนา
โดย ศ.แอนดรูว์ ทาเนนบาวม์ (Andrew S. Tanenbaum) ยังมีความสามารถไม่เพียงพอ
แก่ความต้องการ จึงได้เริ่มต้นทำการพัฒนาระบบยูนิกซ์ของตนเองขึ้นมา โดยจุด
ประสงค์อีกประการ
    คือต้องการทำความเข้าใจในวิชาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วย
เมื่อเขาเริ่มพัฒนาลีนุกซ์ไปช่วงหนึ่งแล้ว เขาก็ได้ทำการชักชวนให้นักพัฒนา
โปรแกรมอื่นๆมาช่วยทำการพัฒนาลีนุกซ์ ซึ่งความร่วมมือส่วนใหญ่ก็จะเป็นความ
ร่วมมือผ่านทางอินเทอร์เนต
    ลีนุสจะเป็นคนรวบรวมโปรแกรมที่ผู้พัฒนาต่างๆได้ร่วมกันทำการพัฒนาขึ้นมาและ
แจกจ่ายให้ทดลองใช้เพื่อทดสอบหาข้อบกพร่อง ที่น่าสนใจก็คืองานต่างๆเหล่านี้
ผู้คนทั้งหมดต่างก็ทำงานโดยไม่คิดค่าตอบแทน และทำงานผ่านอินเทอร์เนตทั้งหมด
    ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดของระบบลีนุกซ์ที่ได้ประกาศออกมาคือเวอร์ชัน 2.0.13 
ข้อสังเกตในเรื่องเลขรหัสเวอร์ชันนี้ก็คือ ถ้ารหัสเวอร์ชันหลังทศนิยมตัวแรก
เป็นเลขคู่เช่น 1.0.x,1.2.x เวอร์ชันเหล่านี้จะถือว่าเป็นเวอร์ชันที่เสถียรแล้วและ
มีความมั่นคงในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเลขคี่เช่น 1.1.x, 1.3.x จะถือว่าเป็น
เวอร์ชันทดสอบ ซึ่งในเวอร์ชันเหล่านี้จะมีการเพิ่มเติมความสามารถใหม่ๆลงไป 
และยังต้องทำการทดสอบหาข้อผิดพลาดต่างๆอยู่


ระบบปฏิบัติการ Linux คืออะไร

     Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991 
โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์
ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix 
ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tanenbaum 
เพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์
    Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991
โดยมีเฉพาะ Harddisk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต่
 Floppy Disk Driver และต้องมีระบบ Minix อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล์
และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร์
ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูตระบบผ่าน Minix
    Linus เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02
ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่ง
ได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย 
เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX ที่สมบูรณ์แบบ มีความสามารถสนับสนุน
กราฟิก X Window สนับสนุนระบบเครือข่าย TCP/IP สามารถรับส่งอีเมล์ 
ทำหน้าที่เป็น News, WWW, FTP Server ได้ และความสามารถอื่นๆ อีกมาก
    สำหรับจุดเด่นที่น่าสนใจของ Linux ได้แก่
   *เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้ฟรี
   *ทำงานได้บนเครื่องพีซีทั่วไป ที่มีหน่วยประมวลผลกลางตั้งแต่ 80386 ขึ้นไป
รวมถึง Motora 680x0, Compaq (Digital) Alpha, PowerPC, SPARC เป็นต้น
จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความต้องการทรัพยากรของระบบในขั้นต่ำ 
    *สามารถทำงานได้รวดเร็ว เนื่องจากมีระบบการจัดการหน่วยความจำเสมือน
(Virtual Memory) การจัดทำงานแบบ Multitasking และระบบป้องกันการรบกวน
การทำงานระหว่าง Process ต่างๆ
   *มีกลุ่มผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง ทำให้ข้อบกพร่องต่างๆ ถูกค้นพบ
และหาวิธีแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นระบบปฏิบัติการที่มีคุณภาพสูงระบบหนึ่ง
    *มีความสามารถแบบ UNIX
    * สามารถใช้งานร่วมกับดอส (DOS) และ Microsoft Windows โดยการแบ่งพาติชั่น
     *ความสามารถในการใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS,
Microsoft Windows, NetWare, OS/2, Minix, NFS, System V
    *เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด เนื่องจากทุกฟังก์ชันมี Source Code แนบมาพร้อม
     * Linux ออกเสียงได้หลายลักษณะ เช่น ลีนุกซ์, ไลนักซ์, ลีนิกซ์

แนะนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux

     Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991
โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์
ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix ซึ่งเป็น
ระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tanenbaum
เพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์
    Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991
โดยมีเฉพาะ Harddisk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต่
Floppy Disk Driver และต้องมีระบบ Minix อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล
์ และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร์ ต้องอาศัย
การคอมไพล์ข้ามระบบ และบูตระบบผ่าน Minix
     Linus เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02
ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่งได้เปิดตัว
     Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็น
ระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX ที่สมบูรณ์แบบ มีความสามารถสนันสนุนกราฟิก
X Window สนับสนุนระบบเครือข่าย TCP/IP สามารถรับส่งอีเมล์ ทำหน้าที่เป็น
News, WWW, FTP Server ได้ และความสามารถอื่นๆ อีกมาก
     สำหรับจุดเด่นที่น่าสนใจของ Linux ได้แก่
      เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้ฟรี
      ทำงานได้บนเครื่องพีซีทั่วไป ที่มีหน่วยประมวลผลกลางตั้งแต่ 80386 ขึ้นไป
รวมถึง Motora 680x0, Compaq (Digital) Alpha, PowerPC, SPARC เป็นต้น จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความต้องการทรัพยากรของระบบในขั้นต่ำ
      สามารถทำงานได้รวดเร็ว เนื่องจากมีระบบการจัดการหน่วยความจำเสมือน
(Virtual Memory) การจัดทำงานแบบ Multitasking และระบบป้องกันการรบกวน
การทำงานระหว่าง Process ต่างๆ
    มีกลุ่มผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง ทำให้ข้อบกพร่องต่างๆ ถูกค้นพบ
และหาวิธีแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นระบบปฏิบัติการที่มีคุณภาพสูงระบบหนึ่ง
    มีความสามารถแบบ UNIX
     สามารถใช้งานร่วมกับดอส (DOS) และ Microsoft Windows โดยการแบ่งพาติชั่น
     ความสามารถในการใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS, Microsoft Windows, NetWare, OS/2, Minix, NFS, System V
     
     เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด เนื่องจากทุกฟังก์ชันมี Source Code แนบมาพร้อม
     Linux ออกเสียงได้หลายลักษณะ เช่น ลีนุกซ์, ไลนักซ์, ลีนิกซ์


คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux

     มัลติทาสกิ้ง (Multi-tasking) คือ ทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น Foreground และ Background
     มัลติยูสเซอร์ (Multi-user) Unix สามารถรองรับผู้ใช้ได้มากกว่า 1 คนในเวลาเดียวกันหรือพูดง่ายๆ ก็คือ ใช้งานได้หลายคนพร้อมกันนั่นเอง
     ป็นระบบปฏิบัติการแบบหลายงาน และหลายผู้ใช้ (Multitasking & Multiuser) ที่สมบูรณ์แบบ ทำให้สามารถมีผู้ใช้งานพร้อมๆ กัน ได้หลายๆ คน และแต่ละคนก็
สามารถรันโปรแกรมได้หลายๆ โปรแกรมพร้อมๆ กัน
    มีความเข้ากันได้ (Compatible) กับระบบ UNIX ส่วนมากในระดับ Source Code
ความสามารถในการสลับหน้าจอระหว่าง Login sessions ต่างๆ บนหน้าจอคอนโซล
ในเท็กซ์โหมดได้ (Pseudo Terminal, Virtual Console)
    สนับสนุนระบบไฟล์หลายชนิด เช่น Minix-1, Xenix, ISO-9660, NCPFS,
SMBFS, FAT16, FAT32, NTFS, UFS เป็นต้น
    สนับสนุนเครือข่าย TCP/IP ตลอดจนมีโปรแกรมไคลเอ็นต์ และเซิร์ฟเวอร์
สำหรับบริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น FTP, Telnet, NNTP,
SMTP, Gopher, WWW
    Kernal ของ Linux มีความสามารถในการจำลองการทำงานของ
Math Processor 80387 ทำให้สามารถรันโปรแกรม ที่ต้องการใช้งานคำสั่ง
เกี่ยวกับ floating-point ได้
    Kernal ของ Linux สนับสนุน Demand-Paged loaded executable คือ
ระบบจะเรียกใช้โปรแกรม เท่าที่จะใช้งานเท่านั้น จากดิสก์สู่หน่วยความจำ
เป็นการใช้หน่วยความจำอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการใช้หน่วยความจำ
ส่วนเดียว กับขบวนการหลายๆ ขบวนการพร้อมๆ กัน (Shared copy-on-write pages
    สนับสนุน swap space มากถึง 2 GB ทำให้มีหน่วยความจำใช้งานมากขึ้น
จึงรัน Application ขนาดใหญ่ได้ และมีผู้ใช้งานได้พร้อมกันมากขึ้น
    Kernal มีระบบ Unified Memory Pool สำหรับโปรแกรมและ Cache
ทำให้ Cache ปรับเพิ่ม-ลดขนาดได้โดยอัตโนมัติ ขณะที่มีการเรียกใช้
หรือไม่ใช้โปรแกรมใดๆ
    โปรแกรมที่รันมีการใช้งาน Library ร่าวมกัน (Dynamically
Linked Shared Libraries) ทำให้โปรแกรมมีขนาดเล็ก และทำงานเร็ว
     สนับสนุนการดีบัก (Debug) โปรแกรม และหาสาเหตุที่ทำให้โปรแกรม
ทำงานผิดพลาดได้
    จากจุดเด่นนี้ทำให้พบว่าในปัจจุบันเรานิยมใช้ Unix เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่อง Internet Server กันมาก

ระบบปฏิบัติการ Linux-SIS

     ระบบปฏิบัติการ Linux-SIS หรือ Linux School Internet Server เป็นชุดซอฟต์แวร์ Linux รวมกับซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่จำเป็นในการใช้งานเป็น Internet Server อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเน้นวิธีการติดตั้งที่ง่าย และมีซอฟต์แวร์ที่จำเป็นมาพร้อม พัฒนาโดยห้องปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (NTL) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็ก-ทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งออกแบบมาสำหรับโรงเรียน
ที่เชื่อมต่อกับโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) และสถาบันการศึกษาที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายไทยสาร (ThaiSarn)
    Linux-SIS พัฒนามาจาก Slaceware Linux Distribution โดยมีการเพิ่มซอฟต์แวร์
    ที่จำเป็นในการใช้งาน Internet Serve พร้อมการตั้งค่าต่างๆ เริ่มต้นให้
มีระบบการติดตั้งที่ง่าย แยกส่วนที่เพิ่มเติมจาก Slackware อย่างชัดเจน
    *ออกแบบมาเพื่อให้การติดตั้งและเริ่มใช้งาน สามารถทำได้ง่าย และรวดเร็ว
     * มีซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่จำเป็นในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ครบครัน


ทำไมถึงต้องเป็นลีนุกซ์

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ "Running Linux" ของ Matt Welsh and Lar Kaufman
    เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่ฟรี คุณสามารถจะขอจากผู้ที่มีลีนุกซ์ หรือจะ
ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เนต หรือบีบีเอสได้โดยไม่ผิดกฏหมาย
   เนื่องจากมีผู้นิยมใช้มาก ทำให้มีผู้นำลีนุกซ์ไปแก้ไขให้สามารถใช้งานได้บนตัว
ประมวลผลกลางหลากหลายตั้งแต่อินเทล, โมโตโรลา, ดิจิตอลอัลฟา, พาวเวอร์พีซี,
ไปจนถึง สปาร์คของซัน นอกจากนี้ยังมีผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ออกมากันมากมาย
   มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูง ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิตเต็มรูปแบบ ซึ่ง
สามารถจะดึงเอาพลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ออกมาได้อย่างเต็มกำลัง ลีนุกซ์ถูกพัฒนา
จากผู้พัฒนานับร้อยทั่วโลก แต่ Linus จะเป็นคนวางทิศทางในการพัฒนาด้วยตัว
    มีคุณลักษณะของระบบ UNIX เต็มรูปแบบ และเป็นระบบหลากผู้ใช้ หลายงานอย่าง
แท้จริง ลีนุกซ์มีระบบอินเทอร์เฟสแบบกราฟฟิคที่เรียกกันว่า X Windows ซึ่งเป็น
มาตรฐานของระบบยูนิกซ์ทั่วๆไป และสามารถใช้ window manager ได้หลายชนิด
ตามความต้องการ นอกจากนี้ยังสนับสนุนโปรโตคอลแบบ TCP/IP ,SLIP, PPP,
UUCP และอื่นๆ
     คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ง่าย มีเอกสารหลากหลาย (กรุณาดูข้างล่าง)
และผู้คนมากมายคอยสนับสนุนคุณผ่านอินเทอร์เนต หรือคุณอาจจะหาการ
สนับสนุนจากบริษัทที่ปรึกษา หรือจากบริษัทผู้จัดจำหน่ายระบบลีนุกซ์ก็ได้
    มีเหตุผลหลายประการที่สามารถอธิบายได้ว่าทำ
ไมผู้คนถึงชอบลีนุกซ์ แต่โดยส่วนตัวแล้ว
น่าจะเป็นเพราะการพัฒนาอย่างรวดเร็วของลีนุกซ์
เนื่องจากคุณสามารถเห็นการเปลี่ยน แปลงตัวเคอร์เนล
และการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ใหม่ๆออกมา
อย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่เคยพบเห็นในระบบที่แจก
จ่ายฟรีแบบนี้ที่ไหนมาก่อนเลย

ผู้ใช้งานและแอพพลิเคชันบนลีนุกซ์

     บรรดาผู้ใช้งานบนลีนุกซ์มีได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นระดับเคอร์นัลแฮกเกอร์ ซึ่งจะทำการ
ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบปฏิบัติการในระดับลึก ไปจนถึงเอนด์ยูเซอร์หรือผู้ใช้ทั่วไป
    คุณสามารถใช้ลีนุกซ์ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเอาไว้ทำการศึกษาระบบยูนิกซ์
หรือคุณสามารถจะศึกษาตัวอย่างการเขียนรหัสโปรแกรมที่ดีได้ หากต้องการจะใช้แอพพล
ิเคชันบนดอส หรือบนวินโดว์ส ลีนุกซ์ก็จะมีดอสอีมูเลเตอร์ (DOSEMU)
และวินโดว์สอีมูเลเตอร์ (WINE) ให้ สำหรับอีมูเลเตอร์ทั้งสองตัวนี้ยังอยู่ในขั้นทดสอบ
และยังรันแอพพลิเคชันของดอสกับวินโดว์สได้ไม่มาก แต่ทีมพัฒนาโปรแกรมทั้งสอง
นี้ก็ยังทำการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ และตั้งเป้าหมายว่าจะต้องรันแอพพลิเคชันของดอสกับ
วินโดวส์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ล่าสุดทางบริษัท Caldera ได้ทำการซื้อลิขสิทธ์
WABI 2.2 ซึ่งเป็นอีมูเลเตอร์สำหรับรันแอพพลิเคชันของวินโดว์ส ที่ใช้ในเวอร์ก
สเตชันของซันมาใส่ในผลิตภัณฑ์ OpenLinux ของตน
    แอพพลิเคชันที่พัฒนามาเพื่อใช้งานบนลีนุกซ์ที่น่าสนใจก็มีเช่น
    Emacs, Tex และ LaTeX ซึ่งซอฟท์แวร์เหล่านี้จะใช้ทำการจัดเตรียม
และพิมพ์เอกสารต่างๆ
    เวปบราวเซอร์ เช่น อะรีนา เนตสเคป และ โมเสค
     เกมส์ต่างๆ เช่น DOOM เป็นต้น
    แอปพลิเคชั่นที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นแอพพลิเคชั่นที่แจกจ่ายฟร
ี ผ่านทางอินเทอร์เนต แต่ในปัจจุบันสำหรับลีนุกซ์แล้วก็เริ่มที่จะมีตลาดของ
ตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีบริษัทต่างๆได้เริ่มทำการพัฒนาแอพพลิเคชันท
ี่เป็นคอมเมอร์เชียลแวร์ ที่จะต้องจ่ายเงินซื้อหาถ้าหากต้องการใช้งาน
แอพพลิเคชั่นเหล่านี้มีมากมาย และผู้พัฒนาก็มีทั้งในยุโรปและอเมริกา
ตัวอย่างเช่น ดาต้าเบสเซอร์ฟเวอร์ YardSQL, JustLogic SQL สเปรตชีต
NEXUS และเวิร์ดโพรเซสเซอร์ WordPerfect
    นอกจากนี้ยังมีผู้รวบรวมแอพพลิเคชั่นที่จำเป็น หลายๆชนิดเข้าด้วยกัน
และมีการใช้งานบนระบบเดสก์ทอปวินโดวส์ ที่น่าประทับใจ เช่น
Caldera Network Desktop โดยระบบนี้จะมี ระบบควบคุมเนตเวอร์ก เวปบราวเซอร์
และ เวิร์ดโพรเซสเซอร์ ฯลฯ ให้พร้อม
    คุณสามารถจะสื่อสารกับอินเทอร์เนต ทำบีบีเอสส่วนตัว ทำระบบงานแบคออฟฟิศ
ที่ใช้งานจริง ใช้ทำการศึกษา หรือแม้แต่ใช้เป็นอินเทอร์เนตเซอร์ฟเวอร์ หรือ
เวปเซอร์ฟเวอร์ก็ยังได
    สิ่งที่ผู้เขียนใช้อยู่คือ ให้ลีนุกซ์เป็นอินเทอร์เนตเกตเวย์ และเวปเซอร์ฟเวอร์
ซึ่งลีนุกซ์ก็จะมียูทิลิตีต่างๆเตรียมไว้ให้ ข้อมูลที่จำเป็นในการติดตั้งทุกอย่าง
ก็หาได้ง่ายจากอินเทอร์เนต เวปเซอร์ฟเวอร์ที่ผู้เขียนใช้อยู่ยังสามารถทำงานกับ
CGI และจาวาได้อีกด้วย
   แอพพลิเคชันอื่นๆที่ใช้งานจริงนั้นมีตั้งแต่
ระบบงานโรงพยาบาล ไปจนถึงระบบค้าปลีกที่น่า
สนใจคือในสิงค์โปร์ได้ ใช้ลีนุกซ์เป็นเซอร์ฟเวอร
์ควบคุมระบบอีเมล์ไร้สาย ด้วย ขอให้คุณทดลอง
ค้นหาดู แล้วคุณจะ พบแอพพลิเคชันที่ถูกใจคุณบนลีนุกซ์

การพัฒนาระบบงานบนลีนุกซ์

     ลีนุกซ์ได้ทำการเตรียม เครื่องมือพัฒนาโปรแกรมให้เราไว้อย่างครบครันซึ่งจะมีตั้งแต่
แอพพลิเคชันมาตรฐานคือ C/C++ คอมไพเลอร์ของ GNU และหากเราต้องการพัฒนา
ระบบบน X ก็มี TCL/TK เตรียมไว้ให้ด้วย
     สำหรับคอมไพเลอร์ภาษาอื่นๆก็มีเช่น Perl, Smalltalk , Pascal, Lisp เป็นต้น ถ้าคุณมี
ความเชี่ยวชาญการเขียนโปรแกรมแบบ X-Base หรือ FoxPro บนลีนุกซ์ก็มีดาต้าเบส
ที่มีการเขียนโปรแกรมแบบนี้ให้เช่นกัน
     และล่าสุดลีนุกซ์ก็มีจาวาคอมไพเลอร์ให้สำหรับผู้ที่ชื่น
ชอบการเขียนแอพเพลตจาวา สำหรับรันบนอินเทอร์เน็ตด้วย

อนาคตของการใช้ระบบปฏิบัติการ ลีนุกซ์เป็นเช่นไร?

      ลีนุกซ์กำลังเป็นระบบปฏิบัติการที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมและใช้งานเพิ่มขึ้น
เป็นระบบที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์หลายบริษัทอาทิ IBM, Compaq, Shape Electrics
เสนอเป็นตัวเลือกแก่ลูกค้าที่ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นผู้ที่สนใจติดตามข่าวใน
เรื่องการนำลีนุกซ์ไปใช้งาน จะได้รับข่าวสารมากมายของบริษัทขนาดใหญ่หลายบริษัทที่
หันมาใช้ลีนุกซ์อย่างจริงจังอาทิ Amazon.com, Freedom2Surf หรือข่าวที่ Mono project
วางแผนใช้ลีนุกซ์ในการพัฒนา .NET ในขณะที่ IBM ออกผลิตภัณฑ์ WebSphere Commerce
middleware เพื่อสนับสนุน e-commerce โดยสามารถใช้กับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่ติดตั้ง
บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู Intel Sony Computer Entertainment Inc ใช้ Linux-enabled
สำหรับเครื่อง PlayStation2 บริษัท Shape Electrics เสนอผลิตภัณฑ์รุ่น Zaurus ที่ใช้ลีนุกซ์และ
จาวา เป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีข่าวจากประเทศ จีนเยอรมัน และแมกซิโก ที่มีนโยบายจะนำ
ลีนุกซ์ ใช้เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานรัฐบาล และ
หลายฝ่ายกำลังติดตามข่าวจากประเทศเกาหลีอย่างสนใจว่าจะประกาศใช้นโยบาย
เดียวกันนี้ด้วยหรือไม่ จุดแข็งที่สนับสนุนให้ลีนุกซ์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
คือเป็นระบบโปรแกรมที่ไม่มีค่าลิขสิทธิแต่อาจมีค่าบริการในการรวบรวมชุด
โปรแกรมที่เหมาะสมกับการนำไปใช้งานและค่าลิขสิทธิของโปรแกรมสนับสนุนอื่นๆ
ซึ่งนอกเหนือไปจาก เงื่อนไขของโครงการ Open Source Software) มีระบบโปรแกรมสนับ
สนุนเป็นจำนวนมากทั้งที่มีลิขสิทธิและที่สามารถดาว์นโหลด
ได้ฟรีจากอินเตอร์เนต มีระบบสนับสนุนการใช้งานแบบกราฟฟิก และระบบโปรแกรมท
ี่สามารถใช้งานได้คลายกับที่สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการ
ที่มีค่าลิขสิทธิราคาแพง นอกจากนั้นสิ่งที่เป็นตัวชี้ว่าลีนุกซ์จะมีพัฒนาการต่อไปอีก
มากมายคือ การที่มีการปรับปรุงระบบโปรแกรมทั้งของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เองและ
ระบบโปรแกรมสนับสนุนอื่นๆ จะเห็นจากการที่มีการนำเสนอระบบโปรแกรมเวอร์ชั่น
ใหม่ๆออกมาตลอดเวลา ดังนั้นโดยภาพรวมลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีมีความ
ตื่นตัวมากและยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปข้างหน้าได้อีกนาน
อย่างไรก็ตามการใช้ลีนุกซ์ก็ใช่ที่ว่าจะไม่มีปัญหาอุปสรรค การเปลี่ยนระบบจากเดิมมา
ใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ อาจะไม่ค่อยง่ายนักดร.ปัญญา เปรมปรีด์ ได้วิเคราะห์ไว้
ในวารสารคอมพิวเตอร์ฉบับหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งที่มักจะมองข้ามคือต้นทุน
ของการเปลี่ยนแปลงระบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 - 15 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดซึ่งยังไม
่รวมการเปลี่ยนแปลงระบบโปรแกรมสำเร็จรูป อื่นๆ และการจัดอบรมแก่พนักงานใหม่ทั้งหมด
ทั้งยังแสดงความไม่มั่นใจที่จะนำลีนุกซ์ไปใช้งานทดแทนระบบเดิมในคอมพิวเตอร์
ขนาดมินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรมได้อย่างสมบูรณ์ และไม่แน่ใจในความสำเร็จหากประเทศไทยจะ
นำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไปใช้แทน ระบบปฏิบัติการยอดนิยมหรือระบบอื่นๆทั้งประเทศ
จากตัวอย่างที่ยังไม่สามารถทำได้สำเร็จในประเทศที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีที่ม
ีความพร้อมสูงกว่าประเทศไทยมาก แต่ท่านได้แนะนำทางออกว่าควรจะสนับสนุน
ให้เกิดกิจกรรมในการพัฒนาระบบโปรแกรมของคนไทยเอง ซึ่งจะสามารถสนองต่อ
ความต้องการและลักษณะการใช้งานของคนไทยมากกว่า ผมเห็นด้วยกับความคิดที่
จะสนับสนุนการพัฒนาระบบโปรแกรมต่างๆโดยคนไทย และคิดว่าเราน่าจะช่วยสนับ
สนุนและให้กำลังใจผู้พัฒนาระบบโปรแกรมคนไทยเพื่อให้ สามารถพัฒนาไปสู่การ
สร้างอุตสาหกรรมการผลิตโปรแกรมสำเร็จรูปในที่สุด ส่วนท่านที่สนใจใน
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 
http://linux.thai.net หรือ
http://www.linux.org หรือ http://www.linuxonline.co



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น