คงเป็นที่ทราบกันดีว่า Ubuntu เป็นลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นที่ได้รับความนิยมสูงมากจากผู้ใช้งานทั่วโลก นับตั้งแต่เปิดตัวออกมาจนกระทั่งถึงวันนี้ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความต้องการที่แตกต่างกันเกิดขึ้นจนทำให้ลำพังเฉพาะตัวโปรเจคหลักคือ Ubuntu อาจจะมีคุณสมบัติบางประการที่ไม่สอดคล้องตอบรับกับความต้องการใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับทุกความต้องการดังนั้นจึงทำให้เกิดการแตกแขนงของการพัฒนาขึ้น เกิดเป็นโปรเจคย่อยๆ ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวขึ้น โดยมีรากฐานการพัฒนามาจาก Ubuntu แต่ได้ดัดแปลงให้มีหน้าตาที่แตกต่าง และคุณลักษณะเฉพาะตัวที่พิเศษแตกต่างกันไปตามการใช้งาน เราเรียกสายการพัฒนาที่แตกแขนงนี้ว่า "variant" เรามาดูกันนะครับว่า มีเจ้า variant ของ Ubuntu Linux ใดบ้างที่น่าสนใจและอาจจะตรงกับการใช้งานของเรามากที่สุด Ubuntuเริ่มต้นที่ตัวโปรเจคหลักกันก่อนเลย ด้วยสังคมกลุ่มผู้พัฒนา Ubuntu และผู้ก่อตั้งที่มีเงินทุนมหาศาลจึงทำให้จำนวนผู้ใช้งาน Ubuntu เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยการติดตั้งที่ง่ายด้วยการแสดงผลเป็นภาษาไทย จึงทำให้ครองใจผู้ใช้งานส่วนใหญ่ในเมืองไทยไปเป็นที่เรียบร้อย ตามมาด้วยหน้าจอแสดงผลที่ติดต่อกับผู้ใช้งานหรือ User Interface ที่เป็นเดสทอปแบบกราฟฟิก ยิ่งช่วยให้ผู้ใช้งานที่คุ้นเคยกับการใช้วินโดวล์สามารถเปลี่ยนมาใช้ Ubuntu ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นอย่างไรก็ตาม การใช้งานผ่านหน้าจอแบบกราฟฟิกก็ไม่อาจทำงานในเชิงลึกได้เท่ากับการใช้งานแบบคอมมานด์ไลน์ (Command Line Interface : CLI) ในระยะเริ่มต้นท่านอาจจะพึงพอใจกับการใช้งานผ่านเมนูต่างๆ ของเดสทอป แต่หลังจากนั้นหากเมื่อใดท่านเริ่มรู้สึกว่าเริ่มติดขัดไม่อาจทำงานบางอย่างที่ต้องการได้ลึกมากพอ เช่น การเซ็ตอัพเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ เมื่อนั้นท่านต้องปรับตัวไปสู่การเป็น Power User แล้วหล่ะคุณสมบัติของ Ubuntu ที่เด่นชัดคือ ใช้โปรแกรม GNOME เป็นเดสทอป ซึ่งทำให้บรรดาโปรแกรมแอปพลิเคชั่นทั้งหลายที่ผนวกรวมไว้กับ GNOME กลายเป็นแอปพลิเคชั่นหลักไปพร้อมกันด้วย จึงมีเหตุผล 2 ประการที่ทำให้เกิด variant อื่นๆ ขึ้น คือ ความต้องการใช้เดสทอปที่ดีกว่า GNOME และความต้องการใช้งานแอปพลิเคชั่นอื่นๆ นั่นเอง KubuntuKubuntu เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดสทอป ที่พัฒนาจาก Ubuntu โดยใช้ KDE (K Desktop Environment) เป็นเดสทอป ทำให้มีหน้าตาอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ที่แตกต่างออกไป โดยฐานกลุ่มผู้นิยมใช้งาน KDE เป็นเดสทอปมักจะมาจากกลุ่มประเทศแสกนดิเนเวีย ซึ่งคุ้นชินกับการใช้งาน SuSE Linux มาก่อน (SuSE Linux เป็นลินกซ์รุ่นบุกเบิก ทุกรุ่นจะใช้ KDE เป็นเดสทอป แต่ในปัจจุบันได้กลายเป็นสินค้าของบริษัทโนเวลไปแล้ว)พูดง่ายๆ Kubuntu ก็คือ Ubuntu ที่เปลี่ยนจากเดิมที่ใช้ GNOME เป็นเดสทอป เปลี่ยนมาใช้ KDE แทนนั่นเอง และก็ทำให้แอปพลิเคชั่นที่น่าใช้งานของ KDE ได้ถูกบันเดิ้ลเข้ามาไว้ใน Kubuntu ด้วย นับว่าเป็นระบบปฏิบัติการเดสทอปที่น่าใช้งานมาก เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า แม้แต่ Mac OS X ก็ใช้เดสทอปที่มีฐานการพัฒนามาจาก KDE นี่เอง LubuntuLubuntu เป็นการนำเดสทอปชื่อ LXDE มาใช้เป็นเดสทอปหลัก ทำให้โอเอสตัวนี้ได้รับส่วนที่ดีจาก LXDE มาทั้งหมด เริ่มจากขนาดที่ค่อนข้างเล็กกระทัดรัดมากที่สุดในบรรดาเดสทอปทั้งหลาย ความต้องการฮาร์ดแวร์เพียงน้อยนิดทำให้รันได้ดีแม้จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สเปคต่ำมากๆ ถ้าท่านเคยได้ยินข่าวโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้องนักเรียน เจ้า LXDE นี่แหละครับ คือ เดสทอปที่ถูกใช้ในคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วในโครงการนั้นนอกจากใช้สเปคคอมพิวเตอร์ที่น้อยมากแล้ว ความเสถียรในการทำงานของ LXDE ก็เป็นที่ยอมรับ เหตุผลง่ายๆ ก็คือ ด้วยโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้โปรแกรมมีความซับซ้อนน้อย ปัญหาจากตัวโค๊ดภายในจึงลดน้อยลงไปตามอัตราส่วนนั่นเอง สรุปว่า Lubuntu เหมาะมากครับสำหรับคอมพิวเตอร์เก่าๆ สเปคต่ำๆ (คงเดาได้นะครับว่าตัวอักษร L น่าจะมาจากคำว่า Light แปลว่า เบา นั่นเอง) XubuntuXubuntu เป็น Ubuntu Linux ที่ใช้ XFCE เป็นเดสทอปแบบกราฟฟิก จุดเด่นของเดสทอปตัวนี้คือ มีขนาดเล็ก ทำงานได้เร็วกว่า GNOME หรือ KDE ซึ่งเป็นเดสทอปรุ่นใหญ่กว่ามาก ในขณะเดียวกันหากนำไปเปรียบเทียบกับเจ้า LXDE แล้ว จะเห็นได้ว่า XFCE จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย แต่สิ่งที่ได้มาก็คือ ความสะดวกในการใช้งาน และความสวยงามที่มีมากกว่าเพราะฉะนั้น Xubuntu จึงเหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สเปคค่อนข้างต่ำ แต่ก็มีคุณสมบัติสูงกว่าการใช้ Lubuntu หรือมองในทางกลับกัน หากเรานำ Xubuntu มาใช้งานกับเครื่องความเร็วสูง ก็จะยิ่งทำให้ระบบทำงานเร็วมากขึ้น เปิดปิดโปรแกรมในกราฟฟิกได้ว่องไว ไม่อืดอาดเหมือนกับใช้งานเดสทอปรุ่นใหญ่ ซึ่งอาจมีคุณสมบัติมากเกินความจำเป็น MythbuntuMythbuntu เป็นเดสทอปโอเอสที่เน้นการใช้งานไปในงานด้านมัลติมีเดียและความบันเทิงเป็นหลัก โดยปรกติจะใช้ XFCE เป็นเดสทอป ติดตั้งแอปพลิเคชั่นใช้งานได้เหมือนกับ Ubuntu ซึ่งเป็นโปรเจคหลักทุกประการ แต่เสริมขีดความสามารถด้านโปรแกรมเพื่อความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ชมรายการโทรทัศน์ออนไลน์ โดยติดตั้งโปรแกรมปลั๊กอินไว้ให้ใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ยังใช้ Chrome เป็นเว็บบราวเซอร์แทนที่จะเป็น Firefoxตัวโปรเจค Mythbuntu มีการพัฒนาโปรแกรมโดยเป็นส่วนหนึ่งกับ Ubuntu เพื่อส่งผ่านเทคโนโลยีที่พัฒนาสำเร็จบน Mythbuntu กลับไปยัง Ubuntu ซึ่งป็นโปรเจคหลักอีกด้วย ความน่าสนใจในตัว Mythbuntu อีกประการหนึ่งคือ การมีโปรแกรม Mythbuntu-Control-Centre เป็นศุนย์กลางการควบคุมต่างๆ ทั้งหมด จึงทำให้การปรับตั้งค่าใช้งานต่างๆ ทำได้สะดวกกว่า variant ตัวอื่นๆ เป็นพิเศษ Ubuntu Rescue RemixUbuntu Rescue Remix เป็นการจัดทำให้ Ubuntu เป็นแผ่นซีดีสำหรับกู้ข้อมูลฉุกเฉิน โดยมีลักษณะเป็นแผ่น Live CD สามารถบูตเครื่องที่มีปัญหาได้ด้วยแผ่นซีดีนี้ หลังจากนั้นก็จะมีเมนูใช้รันโปรแกรมยูทิลิตี้ที่ได้รวบรวมไว้ให้ใช้อย่างจุใจ ซึ่งประกอบไปด้วยโปรแกรมประเภท Data Recovery Software แบบฟรีที่มีชื่อเสียงและเป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ได้แก่ GNU ddrescue, Photorec, The Sleuth Kit, Gnu-fdisk และ Clamavนอกจากจะอยู่ในรูปแผ่นซีดีแล้ว ยังสามารถติดตั้งเก็บไว้ใน USB ได้อีกด้วย ทำให้เหมือนมีเครื่องมืออเนกประสงค์ไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน พร้อมทุกสถานการณ์ที่ต้องกู้ข้อมูลจากเครื่องที่มีอาการผิดปรกติหรือบูตไม่ได้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น