Ubuntu 9.11(PE)Prompt Edition


Ubuntu 9.11(PE)Prompt Edition
เลขเวอร์ชั่น 9.11 นั้น 9 คือปี 2009 ส่วน .11 ก็คือเดือน 11 (พฤศจิกายน) ที่ได้จัดทำและรีลีสรุ่น …

     Ubuntu 9.11(PE)Prompt Edition สร้างขึ้นมาพ้นข้อจำกัดสื่อมาตรฐานติดตั้งเดิม CD(700MB) สำหรับรุ่นนี้มากับขนาด isoที่ใหญ่กว่าเดิมมากพอสมควร ประมาณ  1.9GB ดังนั้นสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บควรจะเป็นสื่อที่มีความจุตั้งแต่ 2GB ขึ้นไป เช่น DVD และ USB ปัจจุบันก็มีราคาที่ไม่แพงจนเกินไปสำหรับผู้ใช้งานทั่วๆไป  เนื่องจากขนาดที่ใหญ่โตแบบนี้ ก็เพราะวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำเพื่อให้ได้ลินุกส์ที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับ การใช้งานในสไตล์ผู้ใช้คนไทย  และยังมีแพกเกจสมบูรณ์พร้อมใช้งานเกือบครบถ้วนในทุกๆด้านในคราวเดียว และต้องการเนื้อที่สื่อจัดเก็บสำหรับใช้งานรวมทั้งสิ้นประมาณ 5GB ...

     Ubuntu 9.11(PE)Prompt Edition เป็นลินุกซ์เดสก์ทอปที่พร้อมใช้งาน โดยการนำ Ubuntu(ต้นฉบับ) ลินุกซ์ดิสโทรยอดนิยมมาทำการ ปรับแต่ง ปรุงแต่ง เพิ่มเติม ให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานคนไทย ภาษาไทยที่สมบูรณ์และสวยงาม ไลบรารีที่จำเป็นกับงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะงานด้านมัลติมีเดียสามารถใช้งานได้ทันที หรือแพกเกจอื่นๆที่น่าสนใจและเป็นที่นิยม ก็ได้ถูกติดตั้งเพิ่มเติมกว่าต้นฉบับดั้งเดิมมากมาย  …

     Ubuntu 9.11(PE)Prompt Edition คือผลผลิต จากประสบการณ์ของผู้จัดทำ และข้อมูลที่ผู้จัดทำได้เก็บเกี่ยวจากผู้รู้หลายๆท่านผ่านช่องทาง เว็บไซด์/เว็บบอร์ด/บล็อก ต่างๆ ใครใช้ Ubuntu รุ่นนี้ก็เหมือนกับการใช้ลินุกซ์ที่ผ่านการปรับแต่งจากประสบการณ์ที่ได้ผลดี จากผู้รู้หลายๆท่าน ...

     สรุป โดยรวมคือ "ลินุกส์รุ่นพร้อมใช้" สามารถนำลินุกซ์ตัวนี้ไปใช้งานได้ทันที และแทบไม่จำเป็นติดตั้งแพกเกจใดๆเพิ่มเติมอีก เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ยังไม่ชำนาญและยังใหม่กับลินุกส์สามารถใช้งานได้ ทันทีโดยไม่ติดขัด หรือผู้ใช้งานที่มีประสบการณ์มาแล้ว ก็สามารถช่วยลดภาระและเวลาการติดตั้งแพกเกจจำเป็นต่างๆได้มากทีเดียว ...

ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 1151x864 ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...


การปรับปรุงระบบหลัก

    * พัฒนาจากพื้นฐานจาก GNU/Linux Ubuntu Desktop LiveCD (i386) 9.10
    * ปิดระบบเวลาแบบ UTC (ตั้งข้อมูลเวลาจากอินเตอร์เน็ต) แก้ปัญหาเวลาไม่ตรงกันกับเวลาของ BIOS
    * ถอดถอน Locale ภาษาอื่นๆจากระบบ คงเหลือเฉพาะ Thai และ English(Family)
    * ถอดถอน Emphaty และแทนที่ด้วย Pidgin
    * ถอดถอน Bluetooth เดิม และแทนที่ด้วย Blueman
    * ถอดถอน Transmission และแทนที่ด้วย Deluge
    * สร้าง Applet Keyboard-layout (สลับภาษา) ค่าปริยาย Alt+Shift และเพิ่มเติม Grave (~) เป็นทางเลือกเสริม
    * แสดงผลการสลับภาษาด้วยสัญลักษณะรูปภาพ(ธงชาติ)
    * เพิ่มเติมไทยฟอนต์ Thaitux และ Angsana,Crodia ลิขสิทธิ์ร่วมดิสทิบิวชั่น อภินันทนาการจาก "ซิป้า"
    * เปลี่ยนค่าปริยายระบบฟอนต์หลักด้วยฟอนต์ Lomaputta ฟ้อนต์แนะนำของ อ.วิทยา (www.thaitux.info)
    * เพิ่มเติมไลบรารี่ gstreamer + medibuntu + w32codec + Flash Plugin + Other สำหรับงานด้านมัลติมีเดีย
    * ล็อกการเปลี่ยนแปลงชื่อของ Folder หลักภายใน Home ผู้ใช้งานเป็นชื่ออังกฤษเสมอ
    * แสดงไอค่อน My Computer /Home /Network บนหน้าเดสก์ทอป
    * แสดงหมวดหมู่เมนูเกมส์ให้เป็นระเบียบขึ้น
    * ปรับแต่งหน้าตา Gnome ใหม่ด้วยธีม Dust ที่ปรับแต่งใหม่เล็กน้อย
    * ปรับแต่งชุด Icon ใหม่ด้วย Human-O2
    * ปรับเปลี่ยนภาพพื้นหลังใหม่เพื่อให้มีหน้าเข้ากันกับชุดธีมและไอค่อน
    * ปรับเปลี่ยน luncher โปรแกรมที่ใช้บ่อยๆบน Toolbar
    * ปรับแต่งระบบการแชร์ไฟล์วินโดว์(Samba)ให้ใช้งานสะดวกขึ้น
    * เพิ่มเติมแพกเกจไดร์เวอร์bcmwl-kernel-source รองรับ Broadcom's BCM-4311-4312,4321,4322
    * คงค้างแพกเกจ Display Driver Resticted (PPA) ทำให้สามารถติดตั้งไดร์เวอร์ที่ Ubuntu รองรับได้ทันที
    * ติดตั้งลินุกซ์เคอเนล linux-image-2.6.31-14-generic
    * อัพเดตระบบแพกเกจต่างๆ ณ วันที่ 23/11/2009
    * ปิดการยืนยันรหัสผ่าน สำหรับงาน Mount Drive/ แก้ไขค่า Network/ แก้ไขค่าวันที่และเวลา

ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 1280x1024 ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...


การปรับแต่งแอพพลิเคชั่น

    * เพิ่มเติม Nautilus Extension & Plugins เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานเดสก์ทอป
    * ปรับแต่งภาพพื้นหลังของโปรแกรม Nautilus เมื่อใช้ในฐานะ user และ root เพื่อสร้างความแตกต่างให้ชัดเจน
    * ปรับแต่งสี(พื้นหลัง/อักษร)ของโปรแกรม Gnome-Terminal ให้แสดงสีอักษรแตกต่างระหว่าง User/Root
    * ไฟร์ฟอกซ์ 3.5.5+(UbuntuClub Toolbar)(Mediawarp)(DownThemeAll)(DownloadHelper)(UserAgentSwitch)
    * ปรับแต่งการใช้งาน Gnome-PPP ในฐานะ root
    * ปรับแต่งการค่าปริยายการใช้งาน QCaD ให้เข้ารหัสภาษาไทย TIS-620

ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 1280x1024 ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...


เพิ่มเติมแอพพลิเคชั่นใหม่

เพิ่มเติมแอพพลิเคชั่นใหม่ที่เหมาะสมกับงานด้านต่างๆเพิ่มเติมจาก Ubuntu ต้นฉบับ
Applications/Accessories

    * Avast! Antivirus (โปรแกรมตรวจสอบไวรัส พร้อมอัพเดตแพตเทิร์นเรียบร้อย)
    * ChmSee (โปรแกรมอ่านไฟล์ CHM)
    * Screenlets (โปรแกรมเสริมการใช้งานเดสก์ทอป)
    * Stardict (โปรแกรมพจนานุกรม Eng/Thai,Thai/Eng)
    * Shutter (โปรแกรมจับหน้าจอภาพเป็นรูปภาพ)
    * VirtualBox (โปรแกรมจำลองคอมพิวเตอร์หลายชนิดซีพียู)

ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 1280x1024 ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...


Applications/Educations

    * GNU PSPP (โปรแกรมทดแทน SPSS)
    * Thai E-Books (หนังสือในรูปแบบ PDF อภินันทนาการจาก "ซิป้า")
    * TuxMath (โปรแกรมฝึกคณิตศาสตร์)
    * TuxPaint (โปรแกรมฝึกวาดภาพ)
    * TuxType (โปรแกรมฝึกพิมพ์ดีด)

ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 1280x1024 ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...


Applications/Games

    * djl (โปรแกรมช่วยติดตั้งเกมส์แพลตฟอร์มลินุกซ์)
    * DOSBox (โปรแกรมจำลองสภาพแวดล้อมดอสเกมส์)
    * Mupen64Plus (โปรแกรมจำลองเครื่องเล่น Nintendo 64)
    * VisualBoy Advance (โปรแกรมจำลองเครื่องเล่น Nintendo Gameboy)
    * ZSNES Emulator (โปรแกรมจำลองเครื่องเล่นเกมส์ Super Nintendo)
    * GameHouse (50 โปรแกรมเกมส์เฮาส์ รุ่นทดลองเล่น)

ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 1280x1024 ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...


Applications/Graphics

    * Blender (โปรแกรมสร้างภาพ 3D/Animation)
    * Comix (โปรแกรมอ่านไฟล์การ์ตูน comic)
    * FontFroge (โปรแกรมสร้างฟอนต์หลากหลายมาตราฐาน)
    * Inkscape (โปรแกรมทดแทน Illustrator)
    * QCaD (โปรแกรมทดแทน AutoCAD 2D)
    * Salasaga (โปรแกรมทดแทน Adobe Captivate)
    * ScribusNG (โปรแกรมทดแทน Page Maker)
    * Xournal (โปรแกรมแก้ไขปรับแต่งแฟ้ม PDF)

ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 1280x1024 ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...


Applications/Internet

    * aMSN (โปรแกรม Messenging)
    * Angry IP Scanner (โปรแกรมค้นหาข้อมูลในเครือข่าย)
    * Deluge (Bittorrent Client)
    * FileZilla FTP Client (โปรแกรมเดสก์ทอป FTP Client)
    * Chromium (บราวเซอร์ท่องอินเตอร์เน็ตค่าย Google)
    * GNOME PPP (โปรแกรมช่วยหมุนโทรศัพท์เพื่อเข้าอินเตอร์เน็ต)
    * Google Earth (โปรแกรมส่องโลก)
    * GWibber (Twitter Client)
    * MultiGet (โปรแกรมช่วยดาวน์โหลดสไตล์ FlashGet)
    * Pidgin (โปรแกรม Messenging)
    * PuTTy SSH Client (โปรแกรมเดสก์ทอป SSH Client)
    * Skype (โปรแกรมสนทนาทางอินเตอร์เน็ตด้วย ข้อความ/ภาพ/เสียง)
    * Vuze (Bittorent)

ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 1280x1024 ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...


Applications/Office

    * Freemind (โปรแกรม minemap)
    * gLabels (โปรแกรมสร้างลาเบลจดหมาย /นามบัตร /บาร์โค็ด)
    * Kivio (โปรแกรมทดแทน Visio)
    * PowerPoint Viewer (โปรแกรมแสดงแฟ้ม PowerPoint)

ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 1280x1024 ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...


Applications/Programming

    * Bluefish (โปรแกรมเขียนเว็บเพจแบบ GUI)
    * MonoDevelop (โปรแกรมทดแทนการพัฒนาระบบงาน .net)
    * Python(V2.6) (โปรแกรมไพธอน)
    * XAMPP (โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์)

ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 1280x1024 ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...


Applications/Sound & Vedio

    * Audacity (โปรแกรมปรับแต่ง/สังเคราะห์แฟ้มเสียง)
    * Cheese (โปรแกรมใช้งาน/ทดสอบ VedioCAM)
    * DeVeDe (โปรแกรมจัดทำ DVD ภาพยนตร์)
    * Dvd95 Converter (โปรแกรมแกรมแปลง DVD9 เป็น DVD5)
    * EasyTag (โปรแกรมแก้ไขค่า MP3/ID3Tags)
    * Gnome Mplayer (โปรแกรมมีเดียเพลเยอร์โดยใช้ Mplayer Engine)
    * gtkpod (โปรแกรมจัดการข้อมูลเครื่อง Ipod)
    * gtk-recordMyDesktop (โปรแกรมจับภาพเคลื่อนไหวหน้าจอภาพ)
    * K3b (โปรแกรมเขียนแผ่น CD/DVD)
    * MPlayer (โปรแกรมมีเดียเพลเยอร์เล่นได้กับหลายสื่อมีเดีย)
    * Piviti (โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ)
    * RealPlayer (โปรแกรมมีเดียเพลเยอร์เล่นกับสื่อมีเดียลักษณะพิเศษ)
    * SMPlayer (โปรแกรมมีเดียเพลเยอร์โดยใช้ Mplayer Engine)
    * Tag2UTF (โปรแกรมช่วยแปลงรหัส Id3Tags จาก Tis-620 เป็น Utf-8)(ใช้งานได้ทั้ง GUI และ Terminal)
    * VLC (สุดยอดโปรแกรมมีเดียเพลเยอร์)
    * WinFF (โปรแกรมแปลงสื่อมีเดียหลากหลายรูปแบบ)
    * XawTV (โปรแกรมจับภาพ Vedio CAM/TV)

ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 1280x1024 ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...


Applications/System Tools

    * Font-Installer (โปรแกรมช่วยติดตั้งฟอนต์ TTF)(สามารถใช้งานได้ทั้ง GUI) และ Terminal)
    * Gmount-ISO (โปรแกรมสร้างซีดีเสมือน)
    * SysInfo (โปรแกรมดูรายละเอียดคอมพิวเตอร์)
    * Ubuntu Tweak (โปรแกรมช่วยปรับแต่งเดสก์ทอป)

Applications/Wine

    * Wine (โปรแกรมช่วยโปรแกรมวินโดว์สให้ใช้งานบนลินุกซ์)


System/Preferences:

    * Advanced Desktop Effect Settings (โปรแกรมปรับแต่ง Desktop Effect ชุดใหญ่)
    * Blueman Bluetooth Manager (โปรแกรมผู้จัดการอุปกรณ์สื่อสารแบบบลูทูธ)
    * Emerald (โปรแกรมเปลี่ยนกรอบหน้าต่าง ต้องใช้ร่วมกับ Desktop Effect)
    * Simple CompizConfig Settings Manager (โปรแกรมปรับแต่ง Desktop Effect ชุดเล็ก)


System/Admistration:

    * APTonCD (โปรแกรมจัดเก็บ deb ไฟล์ลงซีดี)
    * GPated (โปรแกรมจัดการพาร์ทิชั่นดิสก์)
    * GWFS (โปรแกรมเดสก์ทอปไฟร์วอลล์ส่วนบุคคล)
    * NdisWrapper (โปรแกรมช่วยติดตั้งไดร์เวอร์วินโดว์สเน็ตเวิร์ค)
    * Remastersys (System Backup/Grub Restore) (โปรแกรมช่วยสำเนาระบบลินุกส์)
    * Window Wireless Driver (โปรแกรมช่วยติดตั้งไดร์เวอร์ไวเลสจากวินโดว์ส)


Others/Package

    * alien  (โปรแกรมแปลงแพกเกจ RPM เป็น DEB)
    * build-essential (ชุดคอมไพเลอร์พื้นฐาน)
    * foremost (โปรแกรมช่วยกู้ไฟล์ข้อมูล)
    * OpenJDK 6 Java (โอเพ่นซอร์สจาวา)
    * partclone (โปรแกรมช่วยสำเนา/คัดลอกพาร์ทิชั่น)
    * Sun 6 Java (จาวาจาก Sun)
    * testdisk/photorec (โปรแกรมตรวจสอบ/กู้ไฟล์และพาร์ทิชั่น)
    * partclone (โปรแกรมช่วยสำเนา/คัดลอกพาร์ทิชั่น)
    * เพิ่มเติมโปรแกรมเสริมเพื่อความสมบูรณ์ของโปรแกรม OpenOffice
    * เพิ่มเติมโปรแกรมเสริมเพื่อความสมบูรณ์ในการใช้งาน VirtualBox OSE


คงเหลือ 3 เรื่องที่ผู้จัดทำไม่สามารถปรับแก้ได้ตามความประสงค์:

(1) PE9.11 รุ่นนี้ระบบไลบรารี่ด้านมัลมีเดียค่อนข้างผูกติดกับ Gstreamer(โอเพ่นซอร์สไลบรารี่) ผู้จัดทำพยายามอย่างเต็มที่ในการในระบบใช้งาน libxine/w32codec ให้เหมือนกับ PE รุ่นก่อนหน้า แต่ก็ไม่สำเร็จต้องยอมแพ้ยกธงขาว ...

(2) PE9.11 ไม่มี Wubi ติดมาให้ เนื่องจากการทดสอบพบว่า Wubi(เฉพาะ 9.10) ไม่สามารถติดตั้ง Ubuntu ISO ที่เกิน 900MB ได้ในทุกกรณี ซึ่งแตกต่างจากรุ่นก่อนหน้าที่สามารถข้ามข้อจำกัดดังกว่าด้วยพารามีเตอร์ พิเศษ แต่รุ่นนี้ทำไม่ได้ ...

(3) ไม่สามารถบังคับการแสดงผลเริ่มต้นของ LiveCD ให้เป็นภาษาไทย

ขอบคุณอีกครั้งสำหรับการสนับสนุนพื้นที่ดาวน์โหลด

แหล่ง "สามัคคีชุมนุม" (bittorent)

http://t.clubdistro.com/l

อาจารย์วิทยา มาร่วมปล่อยด้วยครับ (แรงได้ใจเลย) ...

http://www.thaitux.info/files/bt/ubuntu_9.11_prompt_edition.iso.torrentl

ขอบคุณ nytes.net และ คุณ sourcode น้องมนัสวิน ที่ช่วยดำเนินการ

http://mirror.nytes.net:81/linux/clubuntu/community/prompt/9.11/l

ขอบคุณ มหาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Mirror) และ เจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการให้(ไม่ทราบนาม) ...

http://mirror1.ku.ac.th/ubuntuclub/prompt/9.11/l

ขอบคุณ มหาลัยสงขลานครินทร์ และ คุณสงกรานต์ที่ดำเนินการให้ ...

ftp://ftp.psu.ac.th/pub/ubuntu/

สำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดด้านอินเตอร์เน็ต หรือ ต้องการความแน่นอนของ ISO ตอนนี้ ShopIT ก็มีบริการจำหน่าย PE9.11 แล้วเช่นกัน ...

http://shop.ubuntuclub.com/catalog/ubuntul

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้จากกระทู้แนะนำภายในเว็บบอร์ด ...

http://forum.ubuntuclub.com/forum/topic,12168.0.html

ปัญหาที่ค้นพบและได้รับรายงาน

ปัญหาที่(1): มีเพื่อนๆแจ้งเข้ามาหลายท่าน ว่าเจอปัญหาบูตแล้วกลับมาหน้าล็อกอิน (GDM)

สาเหตุ: คาดว่าปัญหาเกิดจากระบบค้นหาและเลือกใช้โหมดกราฟฟิคผิดพลาด

วิธีแก้ปัญหา: เมื่อบูต DVD หรือ USB มาหยุดที่หน้าจอแรก(เมนูติดตั้ง) ให้ทำการกด F4 Modes เลือกหัวข้อ Safe ghaphic mode 

ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 670x511 ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...

6 โอเอสทางเลือกจาก Ubuntu Linux


6 โอเอสทางเลือกจาก Ubuntu Linux

โดย ธีรภัทร มนตรีศาสตร์,RHCE

คงเป็นที่ทราบกันดีว่า Ubuntu เป็นลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นที่ได้รับความนิยมสูงมากจากผู้ใช้งานทั่วโลก นับตั้งแต่เปิดตัวออกมาจนกระทั่งถึงวันนี้ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความต้องการที่แตกต่างกันเกิดขึ้นจนทำให้ลำพังเฉพาะตัวโปรเจคหลักคือ Ubuntu อาจจะมีคุณสมบัติบางประการที่ไม่สอดคล้องตอบรับกับความต้องการใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับทุกความต้องการดังนั้นจึงทำให้เกิดการแตกแขนงของการพัฒนาขึ้น เกิดเป็นโปรเจคย่อยๆ ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวขึ้น โดยมีรากฐานการพัฒนามาจาก Ubuntu แต่ได้ดัดแปลงให้มีหน้าตาที่แตกต่าง และคุณลักษณะเฉพาะตัวที่พิเศษแตกต่างกันไปตามการใช้งาน เราเรียกสายการพัฒนาที่แตกแขนงนี้ว่า "variant" เรามาดูกันนะครับว่า มีเจ้า variant ของ Ubuntu Linux ใดบ้างที่น่าสนใจและอาจจะตรงกับการใช้งานของเรามากที่สุด

Ubuntuเริ่มต้นที่ตัวโปรเจคหลักกันก่อนเลย ด้วยสังคมกลุ่มผู้พัฒนา Ubuntu และผู้ก่อตั้งที่มีเงินทุนมหาศาลจึงทำให้จำนวนผู้ใช้งาน Ubuntu เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยการติดตั้งที่ง่ายด้วยการแสดงผลเป็นภาษาไทย จึงทำให้ครองใจผู้ใช้งานส่วนใหญ่ในเมืองไทยไปเป็นที่เรียบร้อย ตามมาด้วยหน้าจอแสดงผลที่ติดต่อกับผู้ใช้งานหรือ User Interface ที่เป็นเดสทอปแบบกราฟฟิก ยิ่งช่วยให้ผู้ใช้งานที่คุ้นเคยกับการใช้วินโดวล์สามารถเปลี่ยนมาใช้ Ubuntu ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นอย่างไรก็ตาม การใช้งานผ่านหน้าจอแบบกราฟฟิกก็ไม่อาจทำงานในเชิงลึกได้เท่ากับการใช้งานแบบคอมมานด์ไลน์ (Command Line Interface : CLI) ในระยะเริ่มต้นท่านอาจจะพึงพอใจกับการใช้งานผ่านเมนูต่างๆ ของเดสทอป แต่หลังจากนั้นหากเมื่อใดท่านเริ่มรู้สึกว่าเริ่มติดขัดไม่อาจทำงานบางอย่างที่ต้องการได้ลึกมากพอ เช่น การเซ็ตอัพเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ เมื่อนั้นท่านต้องปรับตัวไปสู่การเป็น Power User แล้วหล่ะคุณสมบัติของ Ubuntu ที่เด่นชัดคือ ใช้โปรแกรม GNOME เป็นเดสทอป ซึ่งทำให้บรรดาโปรแกรมแอปพลิเคชั่นทั้งหลายที่ผนวกรวมไว้กับ GNOME กลายเป็นแอปพลิเคชั่นหลักไปพร้อมกันด้วย จึงมีเหตุผล 2 ประการที่ทำให้เกิด variant อื่นๆ ขึ้น คือ ความต้องการใช้เดสทอปที่ดีกว่า GNOME และความต้องการใช้งานแอปพลิเคชั่นอื่นๆ นั่นเอง

KubuntuKubuntu เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดสทอป ที่พัฒนาจาก Ubuntu โดยใช้ KDE (K Desktop Environment) เป็นเดสทอป ทำให้มีหน้าตาอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ที่แตกต่างออกไป โดยฐานกลุ่มผู้นิยมใช้งาน KDE เป็นเดสทอปมักจะมาจากกลุ่มประเทศแสกนดิเนเวีย ซึ่งคุ้นชินกับการใช้งาน SuSE Linux มาก่อน (SuSE Linux เป็นลินกซ์รุ่นบุกเบิก ทุกรุ่นจะใช้ KDE เป็นเดสทอป แต่ในปัจจุบันได้กลายเป็นสินค้าของบริษัทโนเวลไปแล้ว)พูดง่ายๆ Kubuntu ก็คือ Ubuntu ที่เปลี่ยนจากเดิมที่ใช้ GNOME เป็นเดสทอป เปลี่ยนมาใช้ KDE แทนนั่นเอง และก็ทำให้แอปพลิเคชั่นที่น่าใช้งานของ KDE ได้ถูกบันเดิ้ลเข้ามาไว้ใน Kubuntu ด้วย นับว่าเป็นระบบปฏิบัติการเดสทอปที่น่าใช้งานมาก เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า แม้แต่ Mac OS X ก็ใช้เดสทอปที่มีฐานการพัฒนามาจาก KDE นี่เอง

LubuntuLubuntu เป็นการนำเดสทอปชื่อ LXDE มาใช้เป็นเดสทอปหลัก ทำให้โอเอสตัวนี้ได้รับส่วนที่ดีจาก LXDE มาทั้งหมด เริ่มจากขนาดที่ค่อนข้างเล็กกระทัดรัดมากที่สุดในบรรดาเดสทอปทั้งหลาย ความต้องการฮาร์ดแวร์เพียงน้อยนิดทำให้รันได้ดีแม้จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สเปคต่ำมากๆ ถ้าท่านเคยได้ยินข่าวโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้องนักเรียน เจ้า LXDE นี่แหละครับ คือ เดสทอปที่ถูกใช้ในคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วในโครงการนั้นนอกจากใช้สเปคคอมพิวเตอร์ที่น้อยมากแล้ว ความเสถียรในการทำงานของ LXDE ก็เป็นที่ยอมรับ เหตุผลง่ายๆ ก็คือ ด้วยโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้โปรแกรมมีความซับซ้อนน้อย ปัญหาจากตัวโค๊ดภายในจึงลดน้อยลงไปตามอัตราส่วนนั่นเอง สรุปว่า Lubuntu เหมาะมากครับสำหรับคอมพิวเตอร์เก่าๆ สเปคต่ำๆ (คงเดาได้นะครับว่าตัวอักษร L น่าจะมาจากคำว่า Light แปลว่า เบา นั่นเอง)

XubuntuXubuntu เป็น Ubuntu Linux ที่ใช้ XFCE เป็นเดสทอปแบบกราฟฟิก จุดเด่นของเดสทอปตัวนี้คือ มีขนาดเล็ก ทำงานได้เร็วกว่า GNOME หรือ KDE ซึ่งเป็นเดสทอปรุ่นใหญ่กว่ามาก ในขณะเดียวกันหากนำไปเปรียบเทียบกับเจ้า LXDE แล้ว จะเห็นได้ว่า XFCE จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย แต่สิ่งที่ได้มาก็คือ ความสะดวกในการใช้งาน และความสวยงามที่มีมากกว่าเพราะฉะนั้น Xubuntu จึงเหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สเปคค่อนข้างต่ำ แต่ก็มีคุณสมบัติสูงกว่าการใช้ Lubuntu หรือมองในทางกลับกัน หากเรานำ Xubuntu มาใช้งานกับเครื่องความเร็วสูง ก็จะยิ่งทำให้ระบบทำงานเร็วมากขึ้น เปิดปิดโปรแกรมในกราฟฟิกได้ว่องไว ไม่อืดอาดเหมือนกับใช้งานเดสทอปรุ่นใหญ่ ซึ่งอาจมีคุณสมบัติมากเกินความจำเป็น

MythbuntuMythbuntu เป็นเดสทอปโอเอสที่เน้นการใช้งานไปในงานด้านมัลติมีเดียและความบันเทิงเป็นหลัก โดยปรกติจะใช้ XFCE เป็นเดสทอป ติดตั้งแอปพลิเคชั่นใช้งานได้เหมือนกับ Ubuntu ซึ่งเป็นโปรเจคหลักทุกประการ แต่เสริมขีดความสามารถด้านโปรแกรมเพื่อความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ชมรายการโทรทัศน์ออนไลน์ โดยติดตั้งโปรแกรมปลั๊กอินไว้ให้ใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ยังใช้ Chrome เป็นเว็บบราวเซอร์แทนที่จะเป็น Firefoxตัวโปรเจค Mythbuntu มีการพัฒนาโปรแกรมโดยเป็นส่วนหนึ่งกับ Ubuntu เพื่อส่งผ่านเทคโนโลยีที่พัฒนาสำเร็จบน Mythbuntu กลับไปยัง Ubuntu ซึ่งป็นโปรเจคหลักอีกด้วย ความน่าสนใจในตัว Mythbuntu อีกประการหนึ่งคือ การมีโปรแกรม Mythbuntu-Control-Centre เป็นศุนย์กลางการควบคุมต่างๆ ทั้งหมด จึงทำให้การปรับตั้งค่าใช้งานต่างๆ ทำได้สะดวกกว่า variant ตัวอื่นๆ เป็นพิเศษ

Ubuntu Rescue RemixUbuntu Rescue Remix เป็นการจัดทำให้ Ubuntu เป็นแผ่นซีดีสำหรับกู้ข้อมูลฉุกเฉิน โดยมีลักษณะเป็นแผ่น Live CD สามารถบูตเครื่องที่มีปัญหาได้ด้วยแผ่นซีดีนี้ หลังจากนั้นก็จะมีเมนูใช้รันโปรแกรมยูทิลิตี้ที่ได้รวบรวมไว้ให้ใช้อย่างจุใจ ซึ่งประกอบไปด้วยโปรแกรมประเภท Data Recovery Software แบบฟรีที่มีชื่อเสียงและเป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ได้แก่ GNU ddrescue, Photorec, The Sleuth Kit, Gnu-fdisk และ Clamavนอกจากจะอยู่ในรูปแผ่นซีดีแล้ว ยังสามารถติดตั้งเก็บไว้ใน USB ได้อีกด้วย ทำให้เหมือนมีเครื่องมืออเนกประสงค์ไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน พร้อมทุกสถานการณ์ที่ต้องกู้ข้อมูลจากเครื่องที่มีอาการผิดปรกติหรือบูตไม่ได้

เปรียบเทียบ Windows กับ Ubuntu


Ubuntu เป็นระบบปฎิบัติการสายพันธ์ลีนุกซ์ที่ไม่ใหญ่โตมากมาย สังเกตได้ว่า ใช้ซีดีแค่แผ่นเดียวเท่านั้น การติดตั้งและใช้งานค่อนข้างง่ายกว่าลีนุกซ์สายพันธ์อื่น จึงเหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กถึงกลางที่ไม่ต้องการอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน

เปรียบเทียบ Windows กับ Ubuntu

OSDatabaseWeb Applicationรวมค่าลิขสิทธิ์
Windows ชุด ServerSQL ServerIIS + ASP + .NETหลักหมื่นถึงแสนต่อเครื่อง
Ubuntu ชุด ServerMySQL, PostgreSQLApache + PHP + Monoฟรีทุกเครื่อง
 ดาวน์โหลด แผ่นซีดี (ไฟล์ .iso) ฟรีได้ที่ http://www.ubuntu.com
ว่าแต่...ทำไมผมยังชอบใช้วินโดวส์ ? " วินโดวส์ทำเรื่องยากให้ง่าย ลีนุกซ์ทำเรื่องง่ายให้ (ยุ่ง) ยาก "



ขั้นตอนการติดตั้งและปรับแต่งลีนุกซ์ Ubuntu 9.04 แบบรวบรัด

หากท่านใดต้องการติดตั้งลินุกซ์บนวินโดวส์ในเครื่องเดียวกัน แนะนำให้ติดตั้งโปรแกรมประเภท Virtual Machine อาทิ Vmware ชุด Workstation (ลิขสิทธิ์) ชุด Player (ฟรี), Microsoft Virtual PC (ฟรี), VirtualBox (ฟรี) ฯลฯ
อ่านเพิ่มเติมที่ :

I. ติดตั้ง Ubuntu ชุด Server

  • เลือก Language: English (ไม่แนะนำให้เลือก Thai เพราะจะยุ่งยากในการคอนฟิกภาษาไทยในภายหลัง)
  • เลือก Install Ubuntu Server
  • เลือก Language: English (ขั้นตอนนี้กำหนดดีฟอลต์ locale เป็น en_US.UTF-8)
  • เลือก Country: Other
  • เลือก Region: Asia/Thailand
  • เลือก Keyboard: Thailand
  • ตั้งชื่อเครื่อง (Hostname) อะไรก็ได้ แต่อย่าให้ชื่อซ้ำกับเครื่องอื่นในวงแลน ตัวอย่าง ubuntu
  • แบ่ง Partition เลือก use entire disk
  • กำหนดชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username/Password) ตัวอย่าง somchai/1234
    โปรดอ่าน: ***สำคัญมาก จดไว้อย่าลืม เพราะต้องใช้ในการล็อกอินเข้าใช้งานเในครั้งแรก

    * ตรงช่วง Configurating apt จะเห็นข้อความ scanning the mirror... รอนานประมาณครึ่งชม ?
    (ทางเลือก) ถ้าไม่อยากรอ...แต่ไม่อยากแนะนำให้ทำก็คือ ให้ถอดสายแลนออกก่อน หรือ คลิกขวาตรง network card มุมขวาล่างใน vmware เลือก disconnect แล้ว connect ใหม่อีกที ภายหลังติดตั้งก็ให้รัน sudo apt-get update แทน
  • เลือก No automatic updates
  • ติดตั้ง LAMP, OpenSSH, SAMBA
    สำหรับ PostgreSQL นั้น หากต้องการให้ภาษาไทยถูกต้อง อย่าคลิกเลือกในขั้นตอนนี้ (ดูวิธีติดตั้งในส่วนถัดไป)
    Ubuntu 9.04 (Jaunty Jackalope) : LAMP = Linux 2.6.28-11 + Apache 2.2.11 + Mysql 5.0.75 +PHP 5.2.6-3
  • กำหนดรหัสผ่านของ MySQL root ตัวอย่าง 1234
    โปรดอ่าน: ***สำคัญมาก จดไว้อย่าลืม เพราะต้องใช้ในการล็อกอินเข้าใช้งาน MySQL
  • รอ...จนติดตั้งเสร็จ (ประมาณห้านาที)
  • เข้าสู่หน้าจอล็อกอิน
    ใส่ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านที่กำหนดไว้ตอนต้น ตัวอย่าง somchai/1234
  • ตั้งรหัสผ่านของ rootคำสั่ง sudo passwd root
    หากต้องการเปลี่ยนเป็น root (เวลารันคำสั่งไม่ต้องมี sudo นำหน้า)
    คำสั่ง su root
  • กำหนด IP Address แบบ Staticตัวอย่าง 192.168.1.10/255.255.255.0
    sudo nano /etc/network/interfaces
    auto eth0
    iface eth0 inet static
    address 192.168.1.10
    netmask 255.255.255.0
    network 192.168.1.0
    broadcast 192.168.1.255
    gateway 192.168.1.254
    
    sudo /etc/init.d/networking restart
    ทดสอบคำสั่ง ping -c 4 google.co.th
  • กรณีที่ทำการข้ามขั้นตอน Configurating apt ของการติดตั้ง Ubuntu ในตอนต้น หรือหากไม่แน่ใจว่าได้ติดตั้ง package ต่าง ๆ ถูกต้องหรือไม่ ก็ให้สั่งรันอัปเดท package ใหม่อีกครั้งก็ได้ตามสะดวกคำสั่ง sudo apt-get update
  • คำสั่งที่จำเป็นต้องรู้ (ปกติผมก็ใช้อยู่แค่นี้ล่ะ)shutdown now
    reboot

II. ปรับแต่ง Ubuntu

ขั้นตอนต่อไปจะทำการคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ Ubuntu บนวินโดวส์ผ่าน Telnel

ติดตั้งโปรแกรม PuTTY

ดาวน์โหลดที่ http://www.putty.org (ฟรี)
การติดตั้งโปรแกรม Telnet Client เช่น PuTTY บนวินโดวส์ก็เพื่อความสะดวกในการรันคำสั่งบนเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่คนละเครื่องกัน ซึ่งเวลาค้นหาคำสั่งของ Linux ต่าง ๆ จากเว็บไซด์เช่น Google ก็ copy คำสั่งที่ต้องการ แล้วคลิกขวามา paste ใส่ใน PuTTY เลยสะดวกกว่า
  • ระบุ IP Address ของเครื่อง Ubuntu ตัวอย่าง 192.168.1.10 SSH พอร์ต 22
  • ใส่ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านที่กำหนดไว้ตอนต้น ตัวอย่าง somchai/1234 (หรือ root ก็ได้ตามสะดวก)

    หมายเหตุ: หากตอนติดตั้ง Ubuntu ไม่ได้คลิกเลือก OpenSSH ก็ให้รันคำสั่ง
    sudo apt-get install ssh openssh-server

ทดสอบ Apache

  • เปิดเว็บบราวเซอร์ เช่น IE, Firefox, Opera เป็นต้นระบุ URL ไปที่ Ubuntu ตัวอย่าง http://192.168.1.10

ทดสอบ PHP

  • รันคำสั่งใน PuTTY เพื่อสร้างไฟล์เอกสารสำหรับทดสอบ PHP ดังนี้sudo nano /var/www/phpinfo.php
    ใส่ข้อความดังนี้
    <?php phpinfo(); ?>
    
  • เปิดเว็บบราวเซอร์ เช่น IE, Firefox, Opera เป็นต้นระบุ URL ไปที่ Ubuntu ตัวอย่าง http://192.168.1.10/phpinfo.php
  • ตรวจสอบดูว่ามีส่วน MySQL หรือไม่ ?

ติดตั้ง phpMyAdmin

การติดตั้ง phpMyAdmin ก็เพื่อให้สามารถใช้งาน MySQL ผ่านเว็บบราวเซอร์
  • รันคำสั่งใน PuTTY ดังนี้sudo apt-get install phpmyadmin
  • เปิดเว็บบราวเซอร์ เช่น IE, Firefox, Opera เป็นต้นระบุ URL ไปที่ Ubuntu ตัวอย่าง http://192.168.1.10/phpmyadmin

    ใส่ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านของ MySQL ที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการติดตั้ง Ubuntu ตัวอย่าง root/1234

ปรับแต่ง MySQL ให้ใช้งานกับ Windows Client (VB, VFP) ในวงแลน

  • รันคำสั่งใน PuTTY แก้ไขไฟล์คอนฟิกของ MySQL ดังนี้sudo nano /etc/mysql/my.cnf
    # bind-address = 127.0.0.1 
    skip-name-resolve 
    
    sudo /etc/init.d/mysql restart
  • วิธีทดสอบแบบง่ายๆ เปิด ODBC Manager ใน Control Panel ของวินโดวส์
    หมายเหตุ กำหนด Privileges ของผู้ใช้งานแบบ Any Host (%) ใน MySQL

ติดตั้ง FTP Server

การติดตั้ง FTP Server ก็เพื่อให้สามารถ Upload/Download ไฟล์สำหรับทำเว็บแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ Ubuntu ในตัวอย่างนี้เลือกใช้ Vsftpd เป็น FTP Server
  • รันคำสั่งใน PuTTY ดังนี้sudo apt-get install vsftpd
  • แก้ไขไฟล์คอนฟิกของ Vsftpd ดังนี้sudo nano /etc/vsftpd.conf
    anonymous_enable=NO
    local_enable=YES
    write_enable=YES
    local_umask=022
    xferlog_enable=NO
    ascii_upload_enable=YES 
    ascii_download_enable=YES
    
    sudo /etc/init.d/vsftpd restart
  • กำหนดกลุ่ม www-data สำหรับ ftp-client ไว้ที่เว็บโฟลเดอร์หลักsudo chgrp www-data /var/www/
    sudo chmod 775 /var/www/
  • เพิ่มชื่อของเราในกลุ่ม www-data สำหรับ ftp-client ตัวอย่าง somchaisudo adduser somchai www-data
  • (ทางเลือก) สร้าง user ใหม่ชื่อ webmin สำหรับ ftp-clientsudo useradd webmin -g www-data -d /var/www
    sudo passwd webmin
ทดสอบรันโปรแกรม FTP Client เช่น CuteFTP, FileZilla บนวินโดวส์
  • ระบุ Host Address ไปที่ Ubuntu ตัวอย่าง 192.168.1.10
  • กำหนด FTP พอร์ต 21
  • ระบุชื่อล็อกอินที่กำหนดไว้ข้างต้น ตัวอย่าง somchai หรือ webmin
  • กำหนด Remote Folder: /var/www

ติดตั้ง SAMBA

การติดตั้ง Samba ก็เพื่อให้สามารถแชร์ไฟล์ (File Sharing) บน Ubuntu กับเครื่องอื่นในวงแลน
sudo apt-get install samba (ถ้าไม่ได้เลือก Samba ไว้ในตอนติดตั้ง)
ตัวอย่าง แชร์โฟลเดอร์ชื่อ myapp และ temp
  • รันคำสั่งใน PuTTY สร้างโฟล์เดอร์ใน Ubuntu ดังนี้
    sudo mkdir /myshare
    sudo mkdir /myshare/myapp
    sudo mkdir /myshare/temp
    sudo chmod 0777 /myshare/myapp
    sudo chmod 0777 /myshare/temp
    
  • คอนฟิก Samba อนุญาติให้แชร์ไฟล์กับวินโดวส์แบบไม่ต้องมีหน้าจอล็อกอินsudo nano /etc/samba/smb.conf
    workgroup = MYGROUP
    security = share
    
    [myapp]
    path = /myshare/myapp
    public = yes
    browseable = no
    writeable = yes
    
    [temp]
    path = /myshare/temp
    public = yes
    browseable = yes
    writeable = yes
    
    หมายเหตุ ตั้งชื่อ Workgroup ให้เหมือนกันกับเครื่องอื่น ๆ ในวงแลน
    sudo /etc/init.d/samba restart
ทดสอบไฟล์แชร์บน Ubuntu กับวินโดวส์ ดังนี้
  • เลือกเมนู Start | Run
  • ระบุชื่อเครื่องหรือ IP Address ของ Ubuntu ตัวอย่าง \\192.168.1.10

ติดตั้ง Webmin

การติดตั้ง Webmin ก็เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ Ubuntu ผ่านเว็บบราวเซอร์ เหมาะสำหรับคนไม่ชอบคำสั่งลีนุกซ์เช่นผมนั่นล่ะ
หมายเหตุ ตรวจสอบเวอร์ชันใหม่ที่ http://sourceforge.net/projects/webadmin
  • รันคำสั่งใน PuTTY ติดตั้ง webmin ดังนี้sudo apt-get install perl libnet-ssleay-perl openssl libauthen-pam-perl libpam-runtime libio-pty-perl libmd5-perl
    wget http://prdownloads.sourceforge.net/webadmin/webmin_1.470_all.deb
    sudo dpkg -i webmin_1.470_all.deb
  • หากคำสั่ง wget ข้างต้นดาวน์โหลดไฟล์ไม่ได้ ก็ให้เพิ่ม webmin ใน Repository (อ่านเพิ่มเติม ที่นี่)nano /etc/apt/sources.list เพิ่มบรรทัดนี้
    deb http://download.webmin.com/download/repository sarge contrib 
    
    
    
    ติดตั้ง webmin เวอร์ชันล่าสุดจาก Repository ดังนี้
    cd /root
    wget http://www.webmin.com/jcameron-key.asc
    apt-key add jcameron-key.asc
    apt-get update
    apt-get install webmin
    
  • เปิดเว็บบราวเซอร์ เช่น IE, Firefox, Opera เป็นต้นระบุ https:// ไปที่ Ubuntu ต่อท้ายด้วย :10000 ตัวอย่าง https://192.168.1.10:10000

    ระบุล็อกอินที่กำหนดไว้ในตอนติดตั้ง Ubuntu ข้างต้น ตัวอย่าง somchai/1234 (หรือ root ก็ได้ตามสะดวก)

ติดตั้ง PostgreSQL (ภาษาไทย)

การติดตั้งระบบฐานข้อมูล PostgreSQL บน Ubuntu จะสร้าง Database Cluster ให้อัตโนมัติด้วย ดังนั้นเพื่อให้ใช้งานภาษาไทยถูกต้อง ให้กำหนด Locale เป็น th_TH ก่อน มิฉะนั้นต้อง initdb -E สร้าง Cluster ใหม่ ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากกว่า
  • รันคำสั่งใน PuTTY กำหนดภาษาไทยของ Ubuntu ดังนี้sudo nano /var/lib/locales/supported.d/local
    en_US.UTF-8 UTF-8
    th_TH.UTF-8 UTF-8
    
    sudo dpkg-reconfigure locales
  • ตรวจสอบว่ามี th_TH.UTF-8 อยู่ใน Locale หรือไม่locale -a
  • เปลี่ยนดีฟอลต์ Locale เป็นไทย ก่อนติดตั้ง PostgreSQL
  • export LANG=th_TH.UTF-8
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ค่าดีฟอลต์ทั้งหมดต้องเป็น th_THlocale
  • รันคำสั่งติดตั้ง PostgreSQL ดังนี้sudo apt-get install postgresql-8.3
    หมายเหตุ ข้อความในหน้าจอขณะติดตั้งจะเป็นขยะอ่านไม่รู้เรื่อง ก็ให้ตอบ y อย่างเดียว
  • (ทางเลือก) เปลี่ยนดีฟอลต์ Locale กลับเป็นอังกฤษexport LANG=en_US.UTF-8
  • ตั้งรหัสผ่านของ postgres ตัวอย่าง 1234sudo -u postgres psql
    postgres=# \password postgres
    postgres=# \q
    
  • ตรวจสอบว่า ภาษาไทยใน PostgreSQL ถูกต้องหรือไม่ ?sudo -u postgres psql
    postgres=# \encoding
    UTF-8
    
    postgres=# show lc_collate ;
    th_TH.UTF-8
    
    postgres=# \q
หมายเหตุ
  • การสร้าง Database ใน PostgreSQL ให้กำหนด Encoding เป็น UTF-8
  • PHP กำหนด META ในส่วนหัวเอกสาร ระบุ Charset=UTF-8
  • การสร้างวินโดวส์แอปพลิเคชันเลือก ODBC ระบุ Driver={PostgreSQL UNICODE};

ติดตั้ง phpPgAdmin

การติดตั้ง phpPgAdmin ก็เพื่อให้สามารถใช้งาน PostgreSQL ผ่านเว็บบราวเซอร์
  • รันคำสั่งใน PuTTY ดังนี้sudo apt-get install phppgadmin
  • แก้ไขไฟล์คอนฟิกของ Apache ดังนี้sudo nano /etc/phppgadmin/apache.conf
    <DirectoryMatch /usr/share/phppgadmin/>
    allow from all
    
    sudo /etc/init.d/apache2 reload
  • กำหนดให้ล็อกอินของ postgres เข้าใช้งานได้sudo nano /usr/share/phppgadmin/conf/config.inc.php
    $conf['extra_login_security'] = false;
    
    sudo /etc/init.d/apache2 reload
  • เปิดเว็บบราวเซอร์ เช่น IE, Firefox, Opera เป็นต้นระบุ URL ไปที่ Ubuntu ตัวอย่าง http://192.168.1.10/phppgadmin

    ใส่ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านของ PostgreSQL ตัวอย่าง postgres/1234

ปรับแต่ง PHP ให้ใช้งานกับ PostgreSQL

การคอนฟิกในส่วนนี้ ก็เพื่อให้สามารถใช้งานคำสั่งของ PHP กับ PostgreSQL เช่น pg_connect(), pg_query() เป็นต้น
  • รันคำสั่งใน PuTTY ดังนี้sudo apt-get install php5-pgsql
  • เปิดเว็บบราวเซอร์ เช่น IE, Firefox, Opera เป็นต้นรันสคริปท์คำสั่ง phpinfo() ที่ได้สร้างไว้แล้วในตอนต้น ตัวอย่าง http://192.168.1.10/phpinfo.php
    ตรวจดูว่ามีส่วน pgsql หรือไม่ ?

ปรับแต่ง PostgreSQL ให้ใช้งานกับ Windows Client (VB, VFP) ในวงแลน

  • รันคำสั่งใน PuTTY แก้ไขไฟล์คอนฟิกของ PostgreSQL ดังนี้sudo nano /etc/postgresql/8.3/main/postgresql.conf
    listen_addresses = '*'
    password_encryption = on
    
    sudo nano /etc/postgresql/8.3/main/pg_hba.conf
    กำหนดช่วง IP ในวงแลน ตัวอย่าง 192.168.1.0
    host all all 192.168.1.0/24 md5
    host all all 127.0.0.1/32 md5
    
    sudo /etc/init.d/postgresql-8.3 restart
  • วิธีทดสอบแบบง่ายๆ เปิด ODBC Manager ใน Control Panel ของวินโดวส์
    หมายเหตุ สร้างผู้ใช้งาน (Role) ใน PostgreSQL ด้วย phpPgAdmin หรือ pgAdmin กำหนด Can Login ? = Yes